ถ้าพิจารณาโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคของตัวกลางกับทิศทางที่คลื่นเคลื่อนผ่าน สามารถแบ่งคลื่นไหวสะเทือนออกเป็น 2 พวก คือ
1.คลื่นที่เคลื่อนผ่านตัวกลาง เรียกว่า คลื่นตัวกลาง (body wave)
2.คลื่นที่เคลื่อนผ่านตัวกลาง และขนานไปกับผิวดิน เรียกว่า คลื่นผิวดิน (surface wave)
คลื่นตัวกลาง (body wave) แบ่งย่อยเป็น 2 พวก คือ
1.คลื่นตามยาว (longitudinal wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนผ่าน มีการสั่นแบบอัด (compression) และขยาย (rarefaction) ในทิศทางเดียวกันกับคลื่นที่เคลื่อนที่ไป หรืออาจจะเรียกว่า คลื่นอัด หรือคลื่นขยาย หรือคลื่นปฐมภูมิ หรือเรียกทับศัพท์ว่า คลื่นพี ก็ได้
2.คลื่นตามขวาง (transverse wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน มีการเคลื่อนในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นเคลื่อนที่ หรืออาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทุติยภูมิ (secondary wave) หรือเรียกทับศัพท์ว่า คลื่นเอส (s-wave) หรือมีอีกชื่อคือ คลื่นเฉือน (shear wave)
คลื่นผิวดิน (surface wave) คือ เคลื่อนที่อยู่บริเวณผิวดิน หรือลอยต่อระหว่างตัวกลางที่มีสมบัติแตกต่างกันอย่างมาก แบ่งย่อยเป็น 2 พวก คือ
1.คลื่นเรลีย์ (reyleigh wave) คลื่นพวกนี้ต้องอาศัยตัวกลางและมีการเคลื่อนขนานไปกับผิวดิน การเคลื่อนที่ของอนุภาคจะเป็นแบบวงรี สามารถแยกองค์ประกอบของทิศทางของคลื่นออกได้ทั้งในแนวดิ่งและแนวนอน
2.คลื่นเลิฟ (love wave) คลื่นนี้จะเคลื่อนที่ตามขวางขนานไปกับผิวสัมผัสของอากาศและพื้นดิน
การสูญเสียพลังงานของคลื่น
คลื่นเมื่อถูกส่งลงไปใต้ดินจะมีการสูญเสียพลังงานเกิดขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการที่ทำให้สูญเสียออกได้เป็น 4 จำพวก ได้แก่
1.การสะท้อนและการส่งผ่าน (reflection and transmission)
2.การกระจายผกผันทรงกลม (spherical divergence) เป็นการสูญเสียพลังงานเนื่องจากระยะทางที่คลื่นแพร่กระจายออกเป็นทรงกลมในทุกขณะที่คลื่นเดินทางออกห่าวจากจุดกำเนิด ค่าความสูงของคลื่นจะถูกลดลงเป็นระยะส่วนกลับของระยะทาง (1/r,r = รัศมี)
3.การกระจาย (scattering) เป็นการสูญเสียพลังงานคลื่นกระทบกับวัตถุ แต่ยังไม่สามารถหาฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์มาอธิบาย การสูญเสียด้วยวิธีการนี้ได้
4.การดูดกลืน (absorption) เป็นการที่คลื่นเคลื่อนที่ลงไปจากผิวดิน และมีการสูญเสียพลังงานในรูปการดูดกลืนเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนผ่านตัวกลางหนึ่ง
พลังงานจะสูญเสียไปในรูปของ
1.ความร้อนที่เกิดจากากรเสียสีของเม็กกินหิน
2.ความร้อนที่เกิดจากความหนืด กรณีมีของเหลวอยู่ในช่องว่างของเม็ดดินหิน
3.การคลายตัว (relaxation) เม็ดดินหิน
เครดิต : ขอบคุณอาจารย์ผู้สอน